วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 
ชื่ออังกฤษ    Zebra Danio
ชื่อไทย   ปลาม้าลาย หรือปลาซีบรา
ประวัติที่อยู่อาศัย   ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
รูปร่างลักษณะ   เร็วลำตัวมีสีน้ำตาลปนเขียว มีแถบยาวตามลำตัว 4 แถบ คล้ายลายของม้าลาย
อุปนิสัย   มักว่ายน้ำรวมกันเป็นฝูงไปมาอย่างรวดเร็ว   สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ๆ ได้   อาหารที่ปลาม้าลายชอบได้แก่ ไรแดง ลูกน้ำ อาหารเม็ดลอยน้ำ
การเลี้ยงดู   ตู้ควรมีขนาดกว้างพอสมควร
 

ชื่ออังกฤษ   Angel fish
ชื่อไทย   ปลาเทวดา
ประวัติที่อยู่อาศัย   ทวีปอเมริกาใต้ ลุมแม่น้ำอเมซอน
รูปร่างลักษณะ   เป็นปลาที่ข้อนข้างแบน  ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานเป็นแพใหญ่  รูปทรงปลาเทวดาเป็น รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
อุปนิสัย   ที่รักสงบ ชอบอยู่นิ่งๆแต่ ในบางครั้งปลาเทวดาก็มีนิสัยก้าวร้าว หวาดระแวง และขี้ตื่นตกใจ
การเลี้ยงดู  ปลาเทวดาเป็นปลาที่รักสงบ  สำหรับอาหารที่ให้ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ เนื้อกุ้งสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป  

 
ชื่ออังกฤษ   Sailfin Molly,Mollies
ชื่อไทย   ปลาเซลฟิน
ประวัติที่อยู่อาศัย   มีแหล่งกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา
รูปร่างลักษณะ   เป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาว แบน ครีบหลังใหญ่มองเห็นเด่นชัด
อุปนิสัย   เลี้ยงง่ายสมารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้ดี และเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัวเช่นเดียวกับปลาหางนกยูง หรือปลาสอด
การเลี้ยงดู   เซลฟินกินอาหารง่ายกินได้แทบทุกชนิด  อาหารสำเร็จรูป ไรแดง ลูกน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 
ชื่ออังกฤษ   Giant gourami
ชื่อไทย   ปลาแรด ปลาแม่น
ประวัติที่อยู่อาศัย   แม่น้ำสายใหญ่ๆ ในเขตภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือของประเทศไทย
รูปร่างลักษณะ    ปลาแรดเป็นปลาแบนด้านข้าง ลำตัวลึก อวบใหญ่ แข็งแรง เกล็ดสวยงามเป็นระเบียบ ปากทู่ หัวมีนอเป็นโหนกขึ้นมา
อุปนิสัย   ปลาแรดชอบอาศัยอยู่ในน้ำค่อนข้างนิ่ง
การเลี้ยงดู   อาหารที่ให้ เช่น รำละเอียด ผักต่างๆ ข้าวสุก กล้วย ขนมปัง
 
ชื่ออังกฤษ   Freshwater halfbeak, Werstling fish
ชื่อไทย   ปลาเข็ม
ประวัติที่อยู่อาศัย   แหล่งน้ำทั่วๆ ไปของประเทศไทย อินโดนีเชียและมาเลเซีย
รูปร่างลักษณะ   ปลาเข็มมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวเกือบกลมมีส่วนแบนตรงโคนหาง ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน หางสีเหลือง ท้องสีขาวเหลืองฟ้า ปลาเข็มหัวเล็ก มีงอยปากแหลมยื่นยาวออกไป ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางกลมมนมีขนาดใหญ่
อุปนิสัย  ปลาเข็มเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ไม่ได้กัดกันเหมือนปลากัน แต่จะพองตัวเข้าหากัน อ้าปากงับกันใช้กำลังปล้ำกัน จึงมีผู้ตั้งให้เป็น "ปลานักมวยปล้ำ"
การเลี้ยงดู  ปลาเข็มควรเลี้ยงในอ่างขนาดย่อม แยกเป็นรายตัวดีกว่าเลี้ยงรวมกันในตู้กระจกอาจจะทำร้ายกัน
 

ชื่ออังกฤษ  Redfin Shark
ชื่อไทย   ปลากาแดง ปลานวลจันทร์  ฉลามครีบแดง
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย   ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบในแม่น้ำภาคกลาง เช่น ที่  กาญจนบุรี นครสวรรค์ ภาคเหนือที่สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่แม่น้ำโขง
รูปร่างลักษณะ   คล้ายกับปลาทรงเครื่องมาก  แต่ลำตัวค่อนข้างยาวเรียวกว่าปลาทรงเครื่องลำตัวมักเป็นสีดำ แต่กาแดงลำตัวสีน้ำตาลอมเทา ไม่ดำสนิทเหมือนปลาทรงเครื่อง ครีบทุกครีบของปลากาแดงเป็นสีแดงหรือสีส้ม ด้านข้างหัวทั้งสองข้างมีแถบสีดำพาดจากปลายปากมา ถึงตา ตรงโคนหางมีจุดสีดำหนึ่งจุด  ปากขนาดเล็ก  ริมฝีปากบนงองุ้มกว่าริมฝีปากล่าง  มีหนวดสั้นๆ2คู่  ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-15 ซ.ม.
อุปนิสัย  ปลากาแดงค่อนข้างเลี้ยงง่ายกว่าปลาทรงเครื่อง ลูกปลากาแดงตัวเล็กๆก็เลี้ยงง่ายกว่าลูกปลาทรง เครื่อง และมีปริมาณรอดตายมากกว่า อุปนิสัยโดยทั่วๆไปเช่นเดียวกับปลาทรงเครื่อง
การเลี้ยงดู   ความเป็นอยู่และอาหารการกินของปลากาแดงทำนองเดียวกับปลาทรงเครื่องและสามารถเลี้ยงรวมกับปลาทรงเครื่องได้ดี
 
ชื่อไทย     ปลาสอดแดง (บางครั้งเรียกปลาหางดาบ)    
รูปร่างลักษณะ   เรียบ แบนข้างเล็กน้อย  ปลาตัวผู้สีเข้มกว่าตัวเมียเล็กน้อย  หางจะมีส่วนของก้านครีบยื่นยาวออกไปคล้ายดาบ
อุปนิสัย    ออกลูกง่าย  แม่ปลา1ตัวให้ลุก 10-20ตัว
การเลี้ยงดู   เลี้ยงง่ายไม่ต้องอาศัยการดูแลมากนัก สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้  สามารถเลี้ยงในตู้ปลาหรือในอ่างปลาได้
 

ชื่อไทย  ปลาหมอสี
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย    มาจากทะเลสาบมาลาวี  ทะเลสาบวิคตอเรีย  ทวีปแอฟริกา  
รูปร่างลักษณะ   คล้ายปลาหมอไทยแต่สีสันจะสวยงามกว่ามาก  
 
ชื่ออังกฤษ    Siamese fighting
ชื่อไทย     ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย     เป็นปลาพื้นบ้านดั้งเดิมของประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย
รูปร่างลักษณะ     เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม ลำตัวแบน เรียวยาว มีสีสันที่สวยสดหลากหลายสีเช่น แดง คราม เขียว น้ำเงิน ม่วง และสีผสมระหว่างสีดังกล่าว ปลากัดไทยเดิมเป็นปลาตาม ท้องทุ่ง หนอง บึง เรียกกันว่า "ปลาป่า" ต่อมามีการคัดเลือกสายพันธุ์และผสมให้มีลักษณะดีขึ้นขนาดใหญ่และสีจัดขึ้นจึงเรียกกันใหม่ว่า ปลาหม้อ ปลากัดได้ชื่อว่าเป็นปลายอดนักสู้จากเมืองสยาม และได้รับความสนใจจากนักเลี้ยงปลาทั่วโลก
อุปนิสัย      ปลากัดเป็นปลาที่อดทน มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษโผล่ขึ้นฮุบอากาศได้ ปลากัดมีนิสัยหวงที่อยู่ และดุร้าย ชอบความเป็นหนึ่ง ไม่ยอมให้ปลาอื่นล่วงล้ำ เข้ามา ถ้ามีผู้บุกรุกก็จะพองตัว กางครีบ ฉีกเหงือกขึ้นสีจัดแล้วพุ่งเข้าใส่ทันที กัดกันจนแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง บางครั้งถึงกับเสียชีวิต
การเลี้ยงดู   ปลากัดไทย เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย แม้จะอยู่ในที่แคบ โดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน สำหรับการผสมพันธุ์ปลากัดค่อนข้างรู้กันอย่างกว้างขวาง การเลี้ยงดูให้แม่พันธุ์ได้ไข่ที่สมบูรณ์ อาหารนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาหารที่ปลากัดชอบคือ ไรน้ำ ลูกน้ำ หนอนแดง เป็นต้น
 

ชื่ออังกฤษ   Kinfe fish, Spotted knife fish, Featherback
ชื่อไทย   มีเรียกหลายชื่อ ได้แก่ปลากราย ปลาหางแพน ปลาตอง ปลาตองกราย
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย   พบตามแหล่งน้ำทั่วๆ ไปของประเทศไทย ในต่างประเทศเช่น เขมร พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เป็นต้น
รูปร่างลักษณะ   เป็นปลาลำตัวแบน บาง ยาวเรียวไปทางส่วนหางคล้ายมีด ส่วนหลังโค้ง หัวเล็กเว้าตรงต้นคอปากค่อนข้างกว้าง ลำตัวเป็นสีเงินหรือสีเงินปนเทา ลำตัวด้านหลังจะคล้ำ ส่วนด้านท้องจะมีสีจางกว่า บริเวณท่อนหางจะมีจุดสีดำประมาณ 5-10 จุด เรียงกันไป แต่ถ้าเป็นปลากรายขนาดเล็ก อายุยังน้อยจะยังไม่มีจุดดำ แต่จะมีลายแถบสีดำพาดขวางลำตัวแทนต่อเมื่อปลาโตขึ้นลายดำจะหายไป เกิดจุดดำขึ้นมาแทน ครีบด้านล่างของปลากรายยาวติดต่อกันไปเป็นพืด ครีบด้านหลังมีขนาดเล็กตรงกึ่งกลางลำตัว ครีบอก 2 ข้างก็เช่นเดียวกัน มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก
อุปนิสัย  ปัจจุบันวงการปลาสวยงามหันมาสนใจปลากรายมากขึ้น ส่วนมากจะจับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงขนาดใหญ่ ปลากรายมักจะมีชุกชุมในแหล่งน้ำนิ่งๆ เมื่อผสมพันธุ์วางไข่แม่ปลากรายจะวางไข่ติดกับเสา หลัก ตอไม้น้ำ หรือก้อนหินในน้ำ วางไข่แล้วพ่อแม่ปลาจะช่วยกันดูแลไข่ด้วยความหวงแหน ปลากรายระยะนี้ค่อนข้างดุร้ายคอยโบกแพนหางเฝ้าไข่ไม่ยอมให้ศัตรูเข้าใกล้ ปลากรายเมื่อมีอายุมากๆ จะมีลำตัวยาวเกือบๆ เมตร แต่เดิมจะถูกจับขึ้นมาเพื่อปรุงเป็นอาหาร ขูดเนื้อทำลูกชิ้นหรือทอดมัน แต่ปัจจุบันนำมาขายกันเป็นปลาสวยงามซึ่งสามารถเลี้ยงให้คุ้นเคยและสวยงามดี
การเลี้ยงดู  จากลักษณะปากกว้าง ฟันเป็นซี่ๆ ภายในปาก บอกให้รู้ถึงลักษณะการกินอาหาร ปลากรายกินสิ่งที่มีชีวิตเป็นอาหาร เป็นต้นว่า ลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวหนอน ตัวแมลงในน้ำ สำหรับลูกปลากรายตัวเล็กๆ อาจเลี้ยงด้วย ไรน้ำ ลูกน้ำ ก็ได้ แต่ในขณะนี้ได้มีการฝึกเพื่อกินอาหารเม็ดลอยน้ำ เพื่อความสะดวกในการเลี้ยง
 
ชื่ออังกฤษ  Blue gourami, Three-spot gourami
ชื่อไทย  ภาคกลางเรียกกระดี่ กระดี่หม้อ ภาคเหนือเรียก สลาก สลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก กระเดิด
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย  พบตามแหล่งน้ำทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ต่างประเทศมีชุกชุมในแถบอินโดจีน
รูปร่างลักษณะ  เป็นปลาลำตัวแบนด้านข้าง จัดอยู่ในครอบครัวปลาสลิด ลักษณะลำตัวก็คล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวมีสีเทาอ่อน มีแถบดำพาดเฉียง ตลอดลำตัว ด้านข้างตัวมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ตรงกึ่งกลางลำตัว 1 จุด โคนหางอีก 1 จุด กระดี่หม้อตัวผู้จะมีสีเข้มจัดกว่าตัวเมีย ครีบหลังของปลาตัวผู้จะยาวจดโคนหางหรือพ้นโคนหาง ส่วนครีบหลังของตัวเมียจะไม่ยาวถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 10-12 ซม.
อุปนิสัย  กระดี่หม้อเป็นปลาพื้นบ้านของไทย รู้จักกันมานานแล้ว ชาวบ้านนิยมจับขึ้นมาทำเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้มีอยู่แพร่หลายตามท้องนา คู คลอง หนอง บึง ส่วนมากชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งตามกอหญ้าและพันธุ์ไม้น้ำ ชอบน้ำไม่ลึกนัก และก่อหวอดวางไข่
การเลี้ยงดู ผู้ที่ไม่มีเวลาสำหรับการดูแลมากนัก เหมาะที่จะเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง ปลากระดี่หม้อ มีความงดงามเป็นธรรมชาติมี ความทนทานอย่างยิ่ง แอร์ปั้มแทบไม่มีความจำเป็นเพราะมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษนอกเหนือจากการใช้เหงือก อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ รำละเอียด ลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือน เป็นต้น และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ ได้อีกด้วย
 
ชื่ออังกฤษ  Dwarf gourami
ชื่อไทย  กระดี่แคระ
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย  กระดี่แคระไม่ใช่ปลาพื้นบ้านของเมืองไทยถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศอินเดียตอนใต้ แต่ขณะนี้ได้นำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในไทย
รูปร่างลักษณะ  กระดี่แคระเป็นปลาแบนด้านข้าง ตามลำตัวมีแถบสีเขียวหรือสีน้ำเงินอ่อนสลับกับสีแดงทั่วไปตามครีบต่างๆ ด้วย กระดี่แคระจัดเป็นปลาที่มีสีสวยและน่ารักกว่าปลากระดี่ด้วยกัน เป็นปลากระดี่ขนาดเล็กที่สุด จึงได้ชื่อว่ากระดี่แคระ โตเต็มที่ความยาว ประมาณ 5-7 ซม. การดูเพศผู้หรือเพศเมียอาศัยดูสีที่ลำตัวก็อาจทราบได้คือ กระดี่แคระตัวผู้สีจัดกว่าตัวเมียมากซึ่งเป็นทำนองเดียวกับปลาหางนกยูง
อุปนิสัย  กระดี่แคระเป็นปลาที่รักสงบ ค่อนข้างขี้อายชอบซุกตัวเงียบ ๆ อยู่ตามพันธุ์ไม้น้ำ กิ่งไม้ ตามมุมตู้ ต้องเลี้ยงให้เชื่องจริง ๆ จึงจะออกมาว่ายน้ำให้เห็น ในตู้กระจกถ้าเลี้ยงปะปนกันหลายๆ ตัว บางครั้งก็อาจทำร้ายกัน ไม่ควรปล่อยเลี้ยงมากเกินไปนัก ขณะปล่อยลงเลี้ยงใหม่ ๆ มักไม่ค่อยยอมกินอาหาร ควรปล่อยไว้ให้หิวเต็มที่และใส่อาหารลงไปให้จะออกมากินเองอย่าพยายามให้ตื่นตกใจ ปลาจะไม่ยอมกินอาหารและถอดสีไม่สวยงาม กระดี่แคระถ้า ปล่อยลงผสมพันธุ์กัน บางครั้งจะทำร้ายตัวเมียจนถึงแก่ความตาย ปลาชนิดนี้ก่อหวอดวางไข่ ตัวผู้ดูแลลูกอ่อนคอยขับไล่ตัวเมียไม่ยอมให้เข้ามาใกล้ ตัวเมียมักเสียชีวิตเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ควรรีบตักออกมาเลี้ยงไว้ต่างหาก ไข่ของกระดี่แคระค่อนข้างเล็กมากมองแทบไม่ค่อยเห็น ควรใส่พันธุ์ไม้น้ำหรือ ที่ซุกซ่อนให้ลูกปลาไว้มาก ๆ ลูกปลาจะรอดชีวิตเพิ่มขึ้น
            ข้อควรระวังประการหนึ่งคือ กระดี่แคระเป็นปลากระโดดเก่ง อาจกระโดดออกมานอกตู้ได้ถ้าไม่ได้ป้องกันไว้
การเลี้ยงดู  กระดี่แคระไม่ควรจัดตู้ให้สว่างมากเกินไป มีพันธุ์ไม้น้ำ กิ่งไม้ ซอกหิน ให้ปลาได้หลบอาศัย ถ้าปลาเชื่องแล้วสีจะสวยงามมาก ถ้าจะจัดตู้โดยใช้แสง ไฟเพิ่มความสวยงามนับว่าน่าดูทีเดียว กระดี่แคระกินอาหารค่อนข้างประหยัด กินอาหารได้แทบทุกชนิด แม้กระทั่งอาหารสำเร็จรูป
 
ชื่ออังกฤษ  Suckermouth Catfishes
ชื่อไทย  ปลาซัคเกอร์ หรือปลาเทศบาล
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย  ปลาซัคเกอร์ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศบราซิล ถูกสั่งนำเข้ามาเพื่อประโยชน์ในการทำความสะอาดตู้ปลาและอ่างปลาทั่วไป
รูปร่างลักษณะ  ปลาซัคเกอร์ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นปลาที่ไม่มีความสวยงามเลย กลับน่าเกลียดด้วยซ้ำ  แต่บางชนิดก็มีสีสันสวยงาม เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาดุก ปลาแขยง ปลากด มีลำตัวเป็นสีดำ ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ปากจะคว่ำลง มีกล้ามเนื้อหนาสำหรับเกาะดูดเก็บกินอาหาร ขนาดของปลาซัคเกอร์ประมาณ 15 - 30 ซม.
อุปนิสัย  ปลาซัคเกอร์เป็นปลาที่หากินตามพื้นตู้ และด้านข้างกระจก ซึ่งมีเศษอาหาร หรือตะไคร่น้ำติดตามตู้กระจก ตามก้อนหิน ปลาซัคเกอร์เป็นปลาที่แข็งแรง ทนทานมาก สามารถเลี้ยงรวมกับปลาสวยงามได้
การเลี้ยงดู  ปลาซัคเกอร์ จุดประสงค์ที่เลี้ยงไว้เพื่อทำความสะอาดตู้ปลา ดังนั้นการให้อาหารปลาซัคเกอร์ ก็คือเศษอาหารจากปลาอื่นๆ ที่เลี้ยงไว้ในตู้ที่เหลือจาก ปลากิน อาหารเม็ดปลาซัคเกอร์ก็กินเหมือนกัน
 

ชื่อไทย     ปลาปอมปาดัวร์    
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ลุ่มน้ำอะเมซอนทางทวีปอเมริกาใต้ในบราซิล เปรู และโคลัมเบีย  
รูปร่างลักษณะ    มีสีต่างๆมากมายคือ  ปลาปอมปาดัวร์ 5 สี  7 สี  รูปร่างกลมแบน  ครีบหลังและครีบท้องยาวเรียวโค้งรอบลำตัว  ลำตัวน้ำตาลอามแดง  มีลวดลายสีฟ้าเข้มแต้มทั่วบริเวณลำตัวแลความยาวไม่เกิน 7 นิ้ว
อุปนิสัย   ชอบกินลูกน้ำ  ไรแดง  ไรสีน้ำตาล  ไส้เดือน  หนอนแดง ไข่กุ้ง
 
ชื่อไทย       ปลาหางนกยูง
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย   อเมริกาใต้  
รูปร่างลักษณะ  หางเด่นสะดุดตา ตัวเมียหางจะเล็กกว่าตัวผู้สีบริเวณลำตัวจะยาว ท้องมีขนาดใหญ่
การเลี้ยงดู สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้  ไม่ต้องอาศัยการดูแลมากนัก เพราะปลาชนิดนี้สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

 
ชื่อไทย   ปลาทอง
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย   ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ  พุงป่องอ้วน ตุ้ยนุ้ย
อุปนิสัย   การฟักตัวของไข่ของปลาทองสามารถปรับอุณหภูมิได้อยู่ระหว่าง 0-35 องศาเซลเซียส  ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 20-25 องศาเซลเซียส  ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปีแต่จะชุกมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป  ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6-7 ปี
การเลี้ยงดู   น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหากเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สารพิษต่างๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์    การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่เพราะมันจะเริ่มกินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา