วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

   ชื่อไทย กดหม้อ กดดำ สิงห์ดำ
ชื่อสามัญ Black cat fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hemibagrus wyckii (Bleeker, 1858)
ชื่อวงศ์ Bagridae
ถิ่นอาศัย แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซียพบที่เกาะชวาและสุมาตรา
ลักษณะทั่วไป ลักษณะลำตัวเพรียว หัวแบนและกว้าง สีลำตัวบริเวณด้านหลังและด้าน
ข้างลำตัวเป็นสีม่วงดำหรือดำ บริเวณท้องสีขาว ครีบหลังมี 2 อัน ครีบหลัง
อันแรกมีก้านครีบหยักเป็นฟันซี่เลื่อย ส่วนครีบหลังอันที่ 2 เป็นครีบไขมัน
ครีบหางเว้าลึก ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีสีขาวหรือสีครีม
ส่วนหน้าของครีบและครีบก้นก็มีสีขาวหรือสีครีมเช่นเดียวกัน
ปากกว้างมาก จะงอยปากป้าน มีหนวด 4 คู่ ปลากดหม้อ จัดเป็นปลา
ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 80 ซม.
อาหาร ปลาขนาดเล็ก ซากสัตว์ เป็นปลาชอบหากินในเวลากลางคืน กลางวันมัก
จะหลบซ่อนที่กำบัง
การเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาขนาดใหญ่ เลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยกรวดและก้อนหิน
   ชื่อไทย หมอแคระแม่น้ำแคว
ชื่อสามัญ Khwae badis
ชื่อวิทยาศาสตร์ Badis khwae Kullander & Britz, 2002
ชื่อวงศ์ Badidae
ถิ่นอาศัย แม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
ลักษณะทั่วไป ลักษณะลำตัวเพรียวยาว แบนข้าง หัวเล็ก นัยน์ตาเล็ก พื้นลำตัว
สีน้ำตาลอมขาว มีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลังและ
ครีบก้นยาวเลยโคนหาง ครีบทุกครีบมีสีเหลืองอมส้ม ครีบหลังมีแถบสีดำ
ตามความยาวครีบ และมีแต้มสีดำบริเวณโคนครีบ ขอบครีบขาว ครีบก้น
มีลักษณะคล้ายครีบหลังแต่ไม่มีแต้มสีดำ ครีบหางกลมปลายตัด มี
แถบสีดำพาดขวาง โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด ขนาดเฉลี่ย
ความยาวประมาณ 3 ซม.
อาหาร สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลงน้ำ
การเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ
ชื่อไทย หัวตะกั่ว
ชื่อสามัญ Blue panchax
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aplocheilus panchax (Hamilton, 1822)
ชื่อวงศ์ Aplocheilidae
ถิ่นอาศัย พบทั้งในแหล่งน้ำตื้นและแหล่งน้ำไหลที่มีพรรณไม้ปกคลุม ทั้งใน
น้ำกร่อยและน้ำจืด
ลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างกลม ยาวเรียว ลำตัวด้านหลัง สีน้ำตาลอ่อน ขอบนอก
ของเกล็ด มีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกลางหัวมีจุดสีขาวเงินขนาดใหญ่ 1 จุด
ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 4 ซม.
อาหาร ตัวอ่อนแมลงน้ำ
การเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงในตู้ขนาดเล็กที่มีพรรณไม้น้ำ
ชื่อสามัญ Duskyfin glassy perchlet
ชื่อวิทยาศาสตร์ Parambassis wolffi i (Bleeker, 1851)
ชื่อวงศ์ Ambassidae
ถิ่นอาศัย ลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าพระยา แม่น้ำโขง และในประเทศเวียดนาม ลาว
กัมพูชา บรูไน และ อินโดนีเซีย
ลักษณะทั่วไป รูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนหัวและท้องกว้าง ลำตัวแบนข้าง หัวโต ตาโต
ปากกว้าง ขากรรไกรล่างยื่นยาว ครีบหลังแบ่งออกได้เป็น 2 ตอน ตอนแรก
เป็นก้านแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก
ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ลำตัวมัก
มีสีใสหรือขุ่นจนสามารถมองเห็นกระดูกภายในลำตัวได้ ด้านท้องมีสีเงิน
มีขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 20 ซม.
อาหาร จุลินทรีย์และตัวอ่อนแมลงน้ำ
การเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำ นิยมนำมาฉีดสีสะท้อน
แสงเข้าบริเวณข้างลำตัวเพื่อให้มีสีสันสวยงามแล้วส่งขายต่างประเทศ
   ชื่อไทย แป้น แป้นแก้ว กระจก
ชื่อสามัญ Siamese glass fishชื่อวิทยาศาสตร์ Parambassis siamensis (Fowler, 1937)ชื่อวงศ์ Ambassidaeถิ่นอาศัย แม่น้ำลำคลอง พบมากที่บริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลำตัวแบนข้างมาก หัวโต ตาโต รูปร่างค่อนข้าง
ไปทางสี่เหลี่ยม มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบแข็งเป็น
หนามแหลมอยู่ 7 ก้าน ครีบหลังอันที่สองมีเฉพาะก้านครีบฝอย ครีบก้น
มีก้านครีบที่เป็นหนามแหลมอยู่ 3 ก้าน มีเกล็ดกลมบางใสและหลุดง่าย
ตัวใสหรือสีขาวคล้ายสีข้าวเม่า โปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน

ชื่อไทย ซิวข้าวสาร
ชื่อสามัญ Dwarf medakaชื่อวิทยาศาสตร์ Oryzias minutillus Smith, 1945ชื่อวงศ์ Adrianichthyidaeถิ่นอาศัย อาศัยเป็นฝูงในแหล่งน้ำนิ่งที่มีหญ้าและพรรณพืชน้ำหนาแน่น รวมถึง
พื้นที่ป่าพรุ
ลักษณะทั่วไป มีรูปร่างลำตัวยาวเรียว ตาโต จะงอยปากเรียว ปากเล็ก ครีบมีขนาดเล็ก
ตัวใสมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนรอบตาและท้องมีเหลือบสีฟ้าเงิน ตัวผู้มักมี
ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ขนาดใหญ่สุดความยาวประมาณ 1.8 ซม.
ขนาดเฉลี่ยความยาวประมาณ 1.5 ซม. ถูกจับรวบรวมเป็นปลาสวยงาม
เป็นครั้งคราว ใช้ชื่อการค้าว่า Blue eye Rice fish หรือ Medakaอาหาร แพลงก์ตอน
การเลี้ยงในตู้ปลา เป็นปลาขนาดเล็ก เลี้ยงเป็นฝูงในตู้ที่มีพรรณไม้น้ำ